วิธีการตีโทนรำมะนา

        ส่วนประกอบต่างๆของโทน รำมะนา
                โทน
๑. หน้าโทน
๒. สายโยงเร่งเสียง
๓. หุ่นโทน
              รำมะนา
๑. หน้ารำมะนา
๒. หมุด
๓. หุ่นรำมะนา
          วิธีการบรรเลง
           วิธีการจับโทน รำมะนา
การบรรเลง โทน และ รำมะนา นั้นแต่เดิมใช้ผู้บรรเลง ๒ คน บรรเลงร่วมกันโดยตีโทนคนหนึ่งและตีรำมะนาคนหนึ่ง ต่อมานิยมบรรเลงคนเดียวโดยนำโทนและรำมะนาวางไว้บนตัก ใช้มือข้างขวาตีโทน และข้างซ้ายตีรำมะนา สาเหตุที่ใช้คนตีคนเดียวอาจจะเป็นเพราะว่า มีควาวสะดวกคล่องตัวกว่าการบรรเลงร่วมกันสองคน เพราะรูปร่างของโทนและรำมะนานั้นไม่ใหญ่โตเหมือนกลองแขก จึงสามารถบรรเลงคนเดียวได้
เสียงที่เกิดจากการตีโทนมี ๒ พยางค์ คือ จ๋ง และ ทั่ม การตีโทนให้ได้เสียง “จ๋ง” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงขอบโทนอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับยกนิ้วขึ้นจะเกิดเป็นเสียง “ จ๋ง” การตีโทนให้ได้เสียง “ทั่ม “ใช้ฝ่ามือที่นิ้วเรียงชิดติดกันตีเฉียงๆลงไปตรงกลางผืนหนังหน้าโทนเกือบเต็มฝ่ามือแล้วรีบยกมือขึ้นจะเกิดเสียง “ทั่ม”
เสียงที่เกิดจากการตีรำมะนามี ๒ พยางค์ คือ ติง และ โจ๊ะ การตีรำมะนาให้ได้เสียง “ติง” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงขอบรำมะนาอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับยกนิ้วขึ้นจะเกิดเป็นเสียง “ติง” การตีรำมะนาให้ได้เสียง “โจ๊ะ” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงกลางผืนหนังหน้ารำมะนาอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับกดนิ้วค้างจะเกิดเป็นเสียง “โจ๊ะ”

เสียงที่เกิดจากการตีโทนมี 2 พยางค์ คือ จ๋ง และ ทั่ม
เสียงที่เกิดจากการตีรำมะนามี 2 พยางค์ คือ ติง และ โจ๊ะ

การตีโทนให้ได้เสียงที่เรียกว่า “จ๋ง”
ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงขอบโทนอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับยกนิ้วขึ้นจะเกิดเป็นเสียง “จ๋ง”
 

 

รูปแบบการเขียนหน้าทับเพลงไทย

การเขียนหน้าทับเพลงไทยนิยมเขียนเป็น 4 พยางค์ต่อ 1 ห้องโดยหนึ่งบรรทัดจะไม่เกิน 8 ห้อง พยางค์เสียงใดที่เป็นจังหวะหยุดจะใช้เครื่องหมาย “-“ เขียนแทนชื่อของพยางค์เสียงนั้น รูปแบบการเขียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ลักษณะดังนี้ (จะใช้เฉพาะเสียง “ติง” เป็นตัวอย่าง)
รูปแบบที่ 1 – – – ติง (เว้น 3 พยางค์แรกแล้วตีเฉพาะพยางค์สุดท้ายในห้อง)
รูปแบบที่ 2 – – ติง ติง (เว้น 2 พยางค์แรกแล้วตี 2 พยางค์สุดท้ายต่อเนื่องกัน)
รูปแบบที่ 3 – ติง ติง ติง (เว้นพยางค์แรกแล้วตี 3 พยางค์สุดท้ายต่อเนื่องกัน)
รูปแบบที่ 4 ติง ติง ติง ติง (ตีทุกพยางค์ต่อเนื่องกัน)
รูปแบบที่ 5 ติง ติง – ติง (ตีเหมือนรูปแบบที่ 4 แต่เว้นเฉพาะพยางค์ที่ 3)
รูปแบบที่ 6 – ติง – ติง (ตีเฉพาะพยางค์ที่ 2 และ 4)
รูปแบบที่ 7 ติง ติง – – (ตี 2 พยางค์แรกต่อเนื่องกันและเว้น 2 พยางค์หลัง)
รูปแบบที่ 8 – ติง – – (ตีเฉพาะพยางค์ที่ 2)
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจะขอยกตัวอย่างรูปแบบของหน้าทับมาให้ดูสัก 2 ตัวอย่างดังนี้
หน้าทับสองไม้ (ลาว) อัตรา 2 ชั้น

จากตัวอย่างที่นำมาแสดงเป็นสำเนียงการบรรเลงหน้าทับของ โทน รำมะนา โดยรำมะนาจะบรรเลงเฉพาะเสียง “ติง” เท่านั้น ส่วนโทนจะบรรเลง 2 เสียงคือ เสียง “จ๋ง” และเสียง “ทั่ม” เมื่อบรรเลงสอดประสานกันแล้ว จะได้รูปแบบเสียงที่กลมกลืนกับท่วงทำนองเพลงไทยสำเนียงลาวในอัตรา 2 ชั้นทุกเพลง
หน้าทับสองไม้ (ไทย) อัตรา 2 ชั้น
หน้าทับสองไม้ (ไทย) นั้นบางทีนิยมเรียกว่า “หน้าทับทยอย” มักใช้บรรเลงกับเพลงในอัตรา 2 ชั้นที่มีลีลาโศกเศร้ารันทดใจเช่นเพลง ทยอยญวน หรือ เพลงช้าโหย เนื่องจากทำนองการบรรเลงหน้าทับมีลักษณะสะอึกสะอื้นรันทดใจเช่นเดียวกัน
บทสรุป
การบรรเลงหน้าทับเพลงไทยด้วยกลองแบบต่างๆ เป็นการเพิ่มรสชาติให้กับการฟังดนตรีมากยิ่งขึ้น เคยมีผู้เปรียบเทียบไว้อย่างน่าฟังว่า “การฟังดนตรีไทยหากขาดเสียงฉิ่งเสียงกลองเสียแล้ว ก็เหมือนแกงจืดที่ขาดเกลือฉะนั้น” ดังนั้นการบรรเลงหน้าทับจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวงดนตรีไทย ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของนักดนตรีไทย ที่สามารถนำเอาพยางค์เสียงของกลองมาผูกเป็นรูปแบบการบรรเลง ให้สอดประสานสัมพันธ์กับท่วงทำนองเพลงได้อย่างไพเราะเหมาะสม นับเป็นภาษาของดนตรีที่งดงามอีกแบบหนึ่ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนของชาติใดๆ ยิ่งบรรเลงเพลงที่ออกสำเนียงภาษาเช่น ลาว แขก จีน ญวน เขมร มอญ พม่า ฯลฯ และใช้หน้าทับสำหรับตีกลองให้ถูกต้องแล้ว จะเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงได้มากทีเดี
 ที่มา http://www.thaikids.com/krutuck/natub/natub2.htm
 

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.