บทที่ 1 พื้นฐานทางดนตรี

1  องค์ประกอบของเสียงดนตรี

1111111เสียงดนตรีหรือเสียงของเพลงเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการเล่นเครื่องดนตรี  โดยการบรรเลงเป็นเพลงที่ทีความไพเราะและมีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้ได้รับฟังโดยตรง  เช่น  เมื่อเราได้ฟังเพลงที่มีเสียงดัง  กระฉับกระเฉง  เราจะรู้สึกคึกคัก  สนุกสนานตามเสียง  จังหวะและทำนองของเพลงทันที  ตรงกันข้ามถ้าเราได้ฟังเพลงที่มีความโหยหวน  เศร้าสร้อย  เราจะรู้สึกสลดหดหู่อารมณ์ไปตามเสียงเพลงที่ได้รับฟังนั้นด้วย
ส่วนต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของเสียงดนตรี  ได้แก่  เสียง  จังหวะ  ทำนองและเสียงประสาน

sound.jpg
เสียง  (
Sound) เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุส่งผ่านมายังหู  โดยผ่านสื่อนำคือชั้นบรรยากาศให้แก้วหูสั่นสะเทือน  ส่งสัญญาณต่อไปยังสมอง  เสียงดนตรีจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากเสียงอื่น ๆ ทั่วไป

  1. ระดับเสียง   (Pitch)  สูง – ต่ำ  โดยความถี่ในการสั่นสะเทือนเป็นตัวกำหนดระดับเสียง  ดังนั้นในทางดนตรี  เสียงที่มีความถี่ของการสั่นสะเทือนแน่นอนเรียกว่า  “โทนเสียง”
  2. ความเข้มของเสียง (Dynamics)  ความเข้มขึ้นอยู่กับแรงที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน  เช่น  ถ้าเราดึงสายเครื่องดนตรีอย่างแรง  เสียงที่เกิดขึ้นจะดัง  การเปลี่ยนแปลงความเข้มของเสียงจะมีผลต่อความรู้สึกของคนฟัง  เช่น  การไล่เสียงเครื่องดนตรีจากค่อย ๆ ไปจนดัง  จะสร้างความตื่นเต้นให้กับคนฟัง  ซึ่งในปัจจุบันเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถผลิตช่วงเสียงได้กว้างขึ้น  ทำให้ความเข้มของเสียงมีความหลากหลายมากขึ้นด้วย
  3. สีสัน (Tone  Color)  เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด  มีสีสันของเสียงที่แปลกแตกต่างกันออกไป  เช่น  เสียง  ฟลูท   มีเสียงที่อ่อนเบา  นุ่ม  เสียงทรัมเป็ตมีเสียงดัง  จัดจ้าน

beat.jpg

        จังหวะ  (Rhythm)  คือ  ความสั้น – ยาว  ของเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง  องค์ประกอบของจังหวะ  ได้แก่
111111.  จังหวะหลัก  (Beat) 
1111111111111เป็นจังหวะที่สามารถรู้สึกได้อย่างชัดเจน  เช่น  จังหวะการเต้นของหัวใจก็เป็นจังหวะหลักอย่างหนึ่ง  จังหวะหลักสามารถเร่งความเร็วขึ้นหรือลดความเร็วลงได้  และสามารถแบ่งส่วนหรือจัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ตามต้องการ
111112.  อัตราความเร็ว (Tempo) 
1111111111111ความเร็วของจังหวะหลักนี้  เมื่อเราเปลี่ยนความเร็วของเพลง  ลักษณะของเพลงนั้น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นเพลงที่มี่ความเร็วสามารถสร้างความเต้นเต้นได้มากกว่า
111113.  อัตราจังหวะ (Meter)
11111111111111การแบ่งกลุ่มจังหวะหลัก  โดยแต่ละกลุ่มจะมีจำนวนจังหวะที่นับเท่ากัน  เช่น  นับ 2  จังหวะ

12.jpg

11111111111111เส้นแนวตั้ง   คือเส้นที่กั้นระหว่างห้องจังหวะ  (Measure)  หรือถ้านับ  4  จังหวะ  ในหนึ่งห้อง  จะแบ่งได้  ดังนี้

13.jpg

11111111111การเน้นเสียง  (Accent)  บางครั้งโน้ตบางตัวได้รับการเน้นที่แตกต่างกันไปจากโน้ตตัวอื่น  การเน้นสามารถทำได้โดยเพิ่มจังหวะหรือความยาวของโน้ตตัวนั้น ๆ ได้

2  องค์ประกอบของดนตรีไทย
3  การขับร้องเพลงไทย
4  การประสมวงดนตรีไทยและวงดนตรีสากล
5  เพลงไทยสากล
6  ตัวโน้ตสากล
7  โน้ตดนตรีไทย

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.