ๅๅๅๅๅๅดนตรีเป็นภาษาสากลที่มนุษย์ทุกคนในโลกฟังแล้วมีความเข้าใจ มีความรู้สึกร่วมกันได้ สามารถบอกได้ว่าให้อารมณ์สนุกสนาน ร่าเริง เศร้าโศก หรือเสียใจ เป็นสื่อความหมายให้เข้าใจกันระหว่างชนในชาติหรือชาติอื่นๆ โดยอย่างยิ่งชนชาติเอเชีย ซึ่งเปรียบเสมือนเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีงามทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วรรณกรรม การละเล่นและค่านิยม
ความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรม
11111111ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีตงดงามตามธรรมชาตืและมีภูมิปัญญาความรู้และทักษะเป็นปัจจัยช่วยเสริม
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของกลุ่มชนซึ่งแสดงออกคล้ายหรือเหมือนกัน ร่วมกันสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีในการปฏิบัติตามความเชื่อและค่านิยมในทางเดียวกัน
ดังนั้นศิลปวัฒนธรรม จึงหมายถึงสิ่งที่ดีงามของมนุษย์ในสังคมนั้น การนำเอาศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชาติไปเผยแพร่ซึ่งกันและกันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี เช่น การนำดนตรีและนาฏศิลป์ไทยซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติไปแสดงในต่างประเทศ และได้รับความสนใจจากต่างชาติเป็นอย่างมาก เท่ากับว่าดนตรีไทย เป็นสื่อนำความสัมพันธ์ไปสู่ชาติอื่นให้รู้จักศิลปวัฒนธรรมของไทย เช่น
- ประเทศกัมพูชา ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ขอครุไทยไปสอนในราชสำนัก ซึ่งไทยได้ส่งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ไปทำการสอน จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีเขมรขึ้นหลายประการ เช่น เกิดเพลงสำเนียงเขมร โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ประพันธ์ขึ้นหลายเพลง เช่น เพลงนกเขาขะแมร์ เพลงขะแมร์ทม เป็นต้น
- ประเทศลาว สำหรับประเทศลาวได้ส่งครูดนตรีมาเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสัมพันธ์ในเรื่องของดนตรีหลายอย่าง เพลงสำเนียงลาวที่คนไทยแต่งขึ้นมาเพื่อเลียนสำเนียงลาว เช่น เพลงลาวแพน เพลงลาวดวงเดือน เป็นต้น
- ประเทศพม่าและมอญ มอญมีความสัมพันธ์กับดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เช่น ในสมัยอยุธยา สมัยพระมหาธรรมราชาและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในไทย และได้นำเอาเครื่องดนตรีมอญเข้ามาด้วย โดยเครื่องดนตรีและเพลงมอญเป็นที่นิยมของคนไทย เช่น ในงานศพนิยมใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบ สำหรับวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในไทยนั้นเป็นการผสมระหว่างเครื่องดนตรีมอญกับเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีมอญที่นำมาประสมคือ ปี่มอญ ฆ้องวงใหญ่ ตะโพนมอญและเปิงมาง ส่วนเครื่องดนตรีไทยที่ประสม ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม และฆ้องวงเล็ก เพลงที่บรรเลงมีทั้งเพลงมอญแท้ ๆ และที่ครูดนตรีไทยแต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีต่าง ๆ เช่น เชิญเจ้าเชิญผีประจำบ้าน ประจำวัด ยกศพ ประชุมเพลง เป็นต้น
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
1111111พม่ามีพื้นที่ติดต่อกับไทยเป็นแนวยาวทางภาคตะวันตก เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาก เพราะประกอบไปด้วยวัฒนธรรมพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ รวมทั้งกลุ่มวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ ด้วยวัฒนธรรมดนตรีของพม่ามีทั้งดนตรีแบบแผนที่เป็นของราชสำนักดนตรีของราษฎร และดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ บทบาทของดนตรีจะถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อความรื่นเริงบันเทิง เฉลิมฉลอง ตลอดจนใช้ประกอบการแสดงด้วย วงดนตรีที่สำคัญ คือ “วงซายวาย”
111111ซายวาย มีความหมายได้สองนัย นัยหนึ่งหมายถึง เปิงมางคอกและอีกนัยหนึ่งหมายถึง วงปี่พาทย์ที่มีเปิงมางคอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกและอาจเรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า ปัตซาย ส่วนตัวเปิงมางคอกนั้น จะเรียกว่า ปัตวายซายวายเป็นวงดนตรีประจำชาติของพม่า ที่ใช้ในงานพิธีและงานบันเทิง มีเล่นทั้งในงานหลวง งานวัด และงานราษฎร์ปัจจุบันพม่ายังคงมีความนิยมนำวงซายวายมาเล่นในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบวช งานเจาะหู งานทรงเจ้า งานรับปริญญาและงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เสียงดนตรีที่บรรเลงจากวงซายวายนั้นมีลีลาเคร่งขรึม แต่นุ่มนวลให้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน เร้าใจ และโศกสลด ซายวายจึงนับเป็นวงดนตรีที่เล่นได้หลายรสและถือเป็นเอกลักษณ์ทางคีตศิลป์อย่างหนึ่งของพม่า วงซายวายเป็นวงดนตรีพื้นเมืองวงใหญ่สุดของพม่า เครื่องดนตรีสำหรับวงซายวาย มี ๑๒ ชิ้นเป็นอย่างน้อยมีทั้งเครื่องหนัง เครื่องโลหะ และเครื่องไม้ เป็นวงดนตรีที่มีเฉพาะเครื่องตีและเครื่องเป่า ไม่มีเครื่องสีเครื่องดนตรีทั้ง ๑๒ ชิ้นในวงซายวาย ได้แก่ เปิงมางคอก กลองใหญ่ กลองสั้น ตะโพนกลองชุดหกใบ ฆ้องวง ฆ้องแผง ฉิ่ง ฉาบ เกราะ กรับไม้ไผ่ และปี่แน
ที่มา: http://www.thaigoodview.com/
- ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไทยและจีนมีการติดต่อคบค้าสมาคมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การดนตรีย่อมมีความใกล้ชิดกันมาโดยตลอด ดังนั้นจึงมีการแต่งเพลงไทยสำเนียงจีนขึ้นโดยคนไทย เช่น โป๊ยกังเหลง ฮ่อแห่ จีนขิมเล็ก เป็นต้น
11111111เสียงดนตรีของจีนคิดขึ้นมาอย่างมีระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เสียงดนตรีของจีนเกิดขึ้นมาจากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง เรียกว่า huang chung เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อไม้ไผ่ 1 ฟอน (ใบ) เสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการตัดไม้ไผ่ด้วยความยาวต่าง ๆ กัน โดยใช้ระบบการวัดที่มีอัตราส่วนแน่นอนเหมือนกับสูตรทางคณิตศาสตร์ จากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง จะนำไปสร้างให้เกิดเสียงต่าง ๆ อีกจนครบ 12 เสียง หรือ 12 ใบ นักวิชาการทางดนตรีเชื่อว่า เสียงทั้ง 12 เสียงของจีนที่เกิดขึ้นมานั้น มีความเกี่ยวพันกับราศี 12 ราศี เดือน 12 เดือน ชั่วโมงของเวลากลางวันและกลางคืน รวมทั้งการแบ่งเพศชายและหญิงด้วย ระบบเสียง 5 เสียง ที่พบในดนตรีจีนถือสารเลือกเสียง 12 เสียงที่เกิดขึ้น นำไปจัดรูปแบบใหม่ให้เป็นบันไดเสียงที่ต้องการเพื่อนำไปใช้สร้างเพลงต่าง ๆ ต่อไป
เครื่องดนตรีจีน
11111ชาวจีนแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้น ๆ แบ่งออกเป็น 8 พวก ดังนี้ 1. ไม้ (Mu) 2. หนัง (Ko) 3. ไม้ไผ่ (Chu) 4. โลหะ (Kin) 5. น้ำเต้า (Po) 6. หิน (Che) 7. ดิน (tu) 8. เส้นไหม (hien)
111111เครื่องดนตรีจำพวกโลหะ ได้แก่ ระฆัง และฆ้องชนิดต่าง ๆ เครื่องดนตรีจำพวกหิน ได้แก่ ระฆังราว เครื่องดนตรีจำพวกเส้นไหม ได้แก่ Ch’in เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย 7 สายใช้มือดีด Ch’in เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้เฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง เครื่องดนตรีจำพวกไม้ไผ่ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่แพนไพท์ (Panpine) เครื่องดนตรีเป็นก้อนจำพวกดิน ได้แก่ เครื่องเป่าเสียงเหมือนขลุ่ยที่สร้างมาจากดินเหนียว ขนาดพอดีกับฝ่ามือ ภายในเจาะให้เป็นโพรง เจาะรูปิด-เปิด ด้วยนิ้วมือเพื่อให้เกิดระดับเสียงดนตรี เครื่องดนตรีพวกน้ำเต้า ได้แก่ Sheng เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงดนตรีจีน Sheng ประกอบด้วย ท่อไม้ 7 ท่อ ติดตั้งอยู่ในผลน้ำเต้าแห้ง ซึ่งจะใช้เป็นที่พักลม แต่ละท่อจะมีลิ้นฝังอยู่ พร้อมทั้งเจาะรูปิด-เปิดแต่ละท่อด้วย เวลาเล่นจะต้องเป่าลมผ่านผลน้ำเต้าแล้วให้ลมเปลี่ยนทิศทางด้วยท่อทั้ง 7 ท่อ เสียงของ Sheng จะคล้ายเสียงออร์แกนลมของดนตรีตะวันตก
![]() |
พิณพระจันทร์ (Ruan) ๅๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายดีด ชื่อภาษาจีนเรียกว่า หยวน ในสมัยโบราณมีชื่อว่า ผีผา ต่อมาพิณพระจันทร์ได้มีชื่อเรียกที่ชัดเจนขึ้นและรูปร่างแตกต่างจากผีผาอย่างชัดเจน ตามรูป รูปร่างปัจจุบันมี 3 แบบ คือ ต้าหยวน จงหยวนและเซี่ยวหยวน ตามลักษณะขนาดจากใหญ่ กลางและเล็ก ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้คือได้รับฉายาว่า กีต้าร์จีน ซึ่งเสียงจะคล้ายๆกีต้าร์โปร่ง มีความสามารถในการบรรเลงเดี่ยวและเป็นเสียงผสานในวงดนตรีจีนอีกด้วย |
![]()
|
เอ้อหู หรือ ซออู้ (Erhu) ๅๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10) เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง ๅๅๅๅๅๅหลังปี ค.ศ. 1949 การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวจีนทั่วไป |
![]() |
กู่เจิง (Gu – Zhing หรือ Guzheng) ๅๅๅๅๅเป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ 2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี) ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ เมื่อ 2500 ปีก่อน ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21 |
![]() |
ขิมหยาง (Yangqin หรือ Yang Ch’in) หรือ “ขิมฝรั่ง” ๅๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งของจีน มีเสียงบรรเลงที่ชัดและเพราะ สามารถแสดงได้หลากหลายทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงพร้อมกัน หรือบรรเลงประกอบการร้องเพลงหรือการแสดงงิ้วเป็นต้น มีบทบาทสำคัญมากในการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและในวงดนตรีชนชาติ |
![]() |
ขลุ่ย ๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” แม้ว่าขลุ่ยมีขนาดเล็กและง่ายๆ แต่มีประวัติยาวนานถึงเจ็ดพันปี ประมาณสี่พันห้าร้อยกว่าปีก่อน ขลุ่ยเริ่มทำด้วยไม้ไผ่แทนกระดูก สมัยฮั่นอู่ตี้เมื่อปลายศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสกาล ขลุ่ยชื่อว่า“เหิงชุย(แปลว่าเป่าตามขวาง)” มีบทบาทสำคัญมากในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าสมัยนั้น นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเป็นต้นมา ขลุ่ยมีการปรับปรุงอย่างมาก ได้เพิ่มรูเยื่อ ทำให้การแสดงออกของขลุ่ยได้รับการพัฒนาอย่างมาก ฝีมือการเป่าขลุ่ยก็พัฒนาไปถึงระดับที่สูงมาก จนถึงศตวรรษที่สิบ พร้อมๆกับบกกวีซ่งและกลองงิ้วสมัยหยวน ขลุ่ยได้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงประกอบเสียงในงิ้วพื้นเมืองและวงงิ้วชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ขลุ่ยก็เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ |
![]() |
พิณหลิว (Liuqin) ๅๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณชนิดหนึ่ง เนื่องจากทำด้วยไม้หลิว และมีสัณฐานคล้าย ๆ กับใบหลิว จึงได้รับชื่อเรียกว่า พิณหลิวหรือ”พิณใบหลิว” สัณฐานและโครงสร้างของพิณหลิวเหมือนกับพิณโบราณของจีนมาก แรกเริ่มเดิมที พิณหลิวมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน และมีรูปร่างเรียบง่ายแบบพื้นเมือง ชาวบ้านจีนจึงเรียกว่า” ถู่ผีผา” แปลว่า ”พิณชาวบ้าน” พิณชาวบ้านชนิดนี้ใช้แพร่หลายในแถบมณฑลซานตง อันฮุยและเจียงซู เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบละครงิ้วท้องถิ่น วิธีการบรรเลงพิณหลิวก็เหมือนกับการบรรเลงพิณผีผา ผู้บรรเลงต้องนั่งตัวตรง เอาพิณหลิววางเฉียงที่หน้าอก มือซ้ายถือคันพิณ ใช้นิ้วแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวาจับเครื่องดีดดีดสายพิณ กิริยาท่าทางสุภาพงดงามน่าดู |
![]() |
ผีผา (Pipa) ๅๅๅๅเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ที่มีความเป็นมายาวนานมาก เป็นตัวแทนของเครื่องสายดีดทุกประเภท ซึ่งได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันยาวนานของจีน ลักษณะของผีผามีการพัฒนามาโดยตลอด ในสมัยโบราณลักษณะของพิณพระจันทร์ หลิ่วฉิน เยี่ยฉินและ พิณสามสายทั้งหมดถูเรียกว่า ผีผา หลังจากที่มีการพัฒนามากขึ้นก็ได้มีการกำหนดชื่อของแต่ละรูปร่างของผีผาอย่างชัดเจน ซึ่งผีผาที่เห็นในรูปนี้ก็คือ ผีผา ในปัจจุบัน ส่วนหลิ่วฉินและพิณพระจันทร์ได้ถูกเรียกตามชื่อของแต่ละเครื่องแตกต่างกันไป ผีผาได้รับการพัฒนาต่อมาให้สามารถเล่นเสียงที่มีระยะห่างครึ่งเสียงเท่ากับช่วงเสียงแบบโครมาติกของดนตรีสากลได้ ผีผามีความโดดเด่นในการบรรเลงเพลงเดี่ยว เป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่ขาดไม่ได้ในวงดนตรีจีนในปัจจุบัน เป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลก |
![]() |
แคนจีน ๅๅๅๅๅในภาษาจีนเรียกว่า หลูเซิน เป็นเครื่องดนตรีของเผ่าเหมียวจู๋ในจีน ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี เป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยโบราณทำด้วยหวายและถูกพัฒนามาเป็นไม้ไผ่ มีรูปร่างหลายอย่าง รูปร่างมาตรฐานที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีจีนปัจจุบันมีลักษณะดังรูป มักถูกใช้ในการบรรเลงในเทศกาลต่างๆของเผ่าเหมียวจู๋ เมื่อก่อนมีตั้งแต่ 5 เสียง 10 เสียง ปัจจุบันมี 16 เสียงถึงมากกว่า20 เสียง ตามแต่ขนาดใหญ่ เล็ก และสามารถแบ่งประเภทของแคนได้ตามลักษณะของเสียงทุ้มและเสียงสูง ส่วนในภาพที่เห็นคือแคนเสียงสูง 16 เสียง ซึ่งเป็นมาตรฐานของแคนที่ใช้บรรเลง ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ คือการผสานเสียง มีเสียงที่สดใสกังวานและสามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวและบรรเลงในวงดนตรีจีนได้ |
![]() |
Ch’in ๅๅๅๅเป็นเครื่องสายที่ทำด้วยเส้นไหม ใช้มือดีด Ch’ing เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง |
![]() |
ปี่โหว หรือ ปี่ไม้ไผ่ ๅๅๅๅเป็นปี่ 2 ลิ้นชนิดหนึ่ง โครงสร้างของปี่ไม้ไผ่เป็นแบบง่ายๆ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ลิ้นปี่ ตัวปี่และปากแตร ลิ้นปี่ทำด้วยหลอดต้นอ้อหรือต้นกก โดยปากค่อนข้างกว้าง ลิ้นปี่ 2 ชิ้นค่อนข้างหน้า ตัวปี่ทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ดำ ไม้แดง ไมัธรรมดา หลอดพลาสติกหรือหลอดโลหะ ปี่ไม้ไผ่มีเสียงดีที่สุด ในตัวเลาปี่ มีรู 7 รู ข้างล่างของตัวปี่เป็นปากแตรที่ทำด้วยทองเหลืองบางๆ เพื่อขยายเสียงและประดับปี่ด้วย เสียงของปี่โหหรือปี่ไม้ไผ่คล้ายๆเสียงของปี่ธรรมดา เสียงทุ้มต่ำ ฟังเหมือนมีเสียงขึ้นจมูกเล็กน้อย มักจะบรรเลงด้วยกันกับซอเสียงกลางและซอเสียงต่ำ เพื่อเสริมเสียงกลางและเสียงต่ำในวงดนตรี
|
ที่มา : http://www.nuks.nu.ac.th/
- ประเทศมาเลเซีย มีความสัมพันธ์กับไทยหลายด้าน สำหรับดนตรีมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและได้มีการนำกลองชนิดหนึ่งเข้าร่วมบรรเลงในวงดนตรีไทยอีกด้วย โดยใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องอิเหนา กลองชนิดนี้เรียกว่า “กลองแขก” เป็นกลองของมาเลเซีย ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องดนตรีไทยโดยสมบูรณ์แล้ว
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅกลองแขก
ความสัมพันธ์ทางประเพณี
ประเพณี คือระเบียบแบบแผนมีการปฏิบัติที่เห็นว่าดีงามและถูกต้อง จนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม และมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การโกนผมไฟ การบวช การแต่งงาน การตาย เป็นต้น ประเพณีเหล่านี้ใช้ดนตรีบรรเลงประกอบประเพณี ดังนั้นดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่มีความสำคัญและสามารถทำให้งานนั้น ๆ สมบูรณ์ได้
ความสัมพันธ์ด้านวรรณกรรม
วรรณกรรม หมายถึง เรื่องราวของหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่า เช่น เรื่องพระอภัยมณี เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยคือ ตอนพระอภัยมณีหลงนางละเวง เมื่อนำมาแสดงในบทของนางละเวง ดนตรีก็บรรจุเพลงสำเนียงฝรั่งเพรานางละเวงเป็นฝรั่ง หรือแสดงละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับแขก ดนตรีก็ต้องเพลงที่มีสำเนียงแขกเข้ามาในบทละครด้วย
ความสัมพันธ์ทางการละเล่น
การละเล่นที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคือการบรรเลงเพลงภาษาที่เรียกว่า “ออกสิบสองภาษา” บางครั้งก็มีการออกตัวมีคนแสดงตามภาษานั้น ๆ หน้าวงดนตรี บางครั้งก็เล่นเป็นเรื่องนั้น ดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการละเล่นอย่างมาก
การเต้นรำพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ชื่อ “ทินิกลิง” ประกอบการบรรเลงดนตรี ลักษณะคล้าย “ลาวกระทบไม้ของไทย”
เกร็ดความรู้
You must be logged in to post a comment.