11111111เพลงไทยสากลกำเนิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระราชินพนธ์เพลงไทยสากลขึ้นตามหลักวิชาดนตรีสากลเป็นเพลงแรก โดยมีลีลาและจังหวะตามฉบับของดนตรีสากล แต่มีทำนองเป็นแบบไทยเรียกชื่อว่า “เพลงไทยสากล” และเรียกชื่อดนตรีสากลที่ใช้บรรเลงประกอบว่า “ดนตรีสากล” ถึงปัจจุบัน
เพลงไทยสากล เกิดขึ้นจากการนำเอาเพลงแนวดนตรีสากลมาใช้ประกอบเพลงไทย โดยใช้เครื่องดนตรีสากลเป็นหลัก ซึ่งได้เริ่มเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจองเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยทหารชาวอังกฤษ 2 คน ชื่อ นอกซ์ (Knox) และอิมเป (Impey) ได้นำแตรฝรั่งเข้ามาเป่าแตรสัญญาณและบรรเลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาก็ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นแตรวงของทหารใช้บรรเลงนำขบวนแห่และบรรเลงเพลงไทย โดยนายมนตรี ตราโมท ได้ขนานนามแตรวงนี้ว่า “วงโยธวาทิต”
ลักษณะของดนตรีสากล
1.1 การบรรเลงในลักษณะในเพลงบรรเลง
จะบรรเลงดนตรีอย่างเดียว โดยมีลีลาและอัตราจังหวะตามแบบฉบับของดนตรีสากล แต่ใช้ทำนองบรรเลงแบบไทย เน้นที่การบรรเลงดนตรีให้เกิดภาพพจน์และจินตนาการตามอารมณ์และความรู้สึกที่สัมผัสได้ตามเสียงเครื่องดนตรีสากบ
1.2 การบรรเลงประกอบขับร้องเพลงไทยสากล
เป็นการบรรเลงดนตรีประกอบการร้องเพลง โดยทั่วไปจะใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงร่วมไปกับนักร้องที่ร้องเพลงไทยสากลให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ซึ่งทำให้การขับร้องเพลงไทยสากลไพเราะและน่าฟังยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานระหว่างดนตรีสากลกับดนตรีไทย โดยการประยุกต์นำเอาเครื่องดนตรีสากลกับเครื่องดนตรีไทยบางชนิดมาบรรเลงร่วมกันให้เกิดความกลมกลืนไพเราะเรียกว่า “ดนตรีไทยประยุกต์” ซึ่งมีรูปแบบการบรรเลงดนตรีในลักษณะเพลงบรรเลง และการบรรเลงประกอบการร้องเพลงไทยสากลเช่นเดียวกัน แต่ดนตรีไทยประยุกต์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก
ลักษณะของเพลงไทยสากล
111111111เพลงไทยสากล คือ เพลงที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาไทย ใช้ทำนองแบบไทยแต่มีลีลาและอัตราจังหวะตามแบบฉบับดนตรีสากล และใช้เครื่องดนตรีสากลในการบรรเลงประกอบขับร้อง เพลงไทยสากลเพลงแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประพันธ์โดยจองพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประมาณปี พ.ศ. 2448-2450 โดยพระองค์ทรงนิพนธ์ไว้ประมาณ 12 เพลง ได้แก่ เพลงสุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงวอลซ์ปลื้มจิต เพลงวอลซ์ประชุมพล เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น เพลงนางครวญ เพลงพญาโศก เพลงมณฑาทองและเพลงมาร์ชบริพัตร เพลงเหล่านี้มีทั้งเพลงที่ดัดแปลงมาจากเพลงไทย และเพลงที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่ จนกระทั่ง พ.ศ. 2474 มีคณะละครจันทโรภาสนำละครร้องเรื่องจันทร์เจ้าขา ที่ประพันธ์โดยพรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา) มาเปิดการแสดง โดยละครร้องเรื่องนี้ได้นำเพลงขับร้องประเภทเพลงไทยสากลไว้หลายเพลง เช่น เพลงจันทร์เจ้าขา เพลงจันทร์ลอย เพลงจันทร์สวาท เพลงจันทร์จากฟ้า เพลงขวัญของเรียม เป็นต้น
ต่อมา ปี พ.ศ. 2476 ได้มีภาพยนตร์ขึ้นในประเทศไทย จึงมีผลงานประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์แนวเพลงไทยขึ้นและจนถึงยุคทองของเพลงไทยสากล คือ ยุคของวงดนตรีคณะสุนทราภรณ์ที่นำโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่มีผลงานประพันธ์เพลงออกมาไม่น้อยกว่า 1,000 เพลง และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้วงดนตรีคณะสุนทราภรณ์ยังได้สร้างนักแต่งเพลงหลาย ๆ คน เช่น ชอุ่ม ปัญจพรรค์ , แก้ว อัจฉริยะกุล , เวช สุนทรจามร , สุรัช พุกกะเวส เป็นต้น รวมทั้งยังมีเพลงไทยสากลที่แตกสาขาออกไปจากวงดนตรีคณะสุนทราภรณ์อีก เช่น ผลงานเพลงของสวลี ผกาพันธุ์ , สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นต้น
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅวงดนตรีสุนทราภรณ์
ส่วนผลงานเพลงที่เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยและวงการดนตรีไทยคือ ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เช่น เพลงยามเย็น เพลงสายฝน เพลงยิ้มสู้ เพลงลมหนาว เพลงใกล้รุ่ง เป็นต้น
ดังนั้นแนวเพลงไทยสากล จึงประกอบด้วย เพลงขับร้องทั่วไป เพลงประกอบละครร้อง เพลงประอบโอเปรา และเพลงประกอบภาพยนตร์ โดยมรทั้งเป็นเพลงบรรเลงและเพลงที่ใช้ขับร้อง ซึ่งเพลงไทยสากล นับว่าเป็นเพลงที่เป็นที่นิยมเรื่อยมาตั้งแต่อดีตเรียกว่า “เพลงลูกกรุง” จนถึงปัจจุบันเป็นที่รู้กันในชื่อ “เพลงไทยสากล”
You must be logged in to post a comment.