การขับร้องเพลงประสานเสียง


          วงขับร้องประสานเสียง (อังกฤษ: Choir) เป็นการรวมวงของกลุ่มนักร้อง เพื่อร้องเพลงร่วมกันเป็นหมู่คณะ เริ่มแรกการขับร้องประสานเสียงจะพบมากในโบสถ์ เป็นการร้องเพลงเพื่อศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาร้องกันทั่วไป วงขับร้องประสานเสียงจะแบ่งระดับเสียงของนักร้องที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องจะมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป
         ประเภทของวงขับร้องประสานเสียง
  • 1.วงขับร้องประสานเสียงแบบผสมชายหญิง เป็นประเภทที่อาจพบได้มากที่สุด มีการแบ่งนักร้องออกเป็น 4 กลุ่ม หรือ 4 แนว ได้แก่ โซปราโน อัลโต เทนเนอร์ และเบส เรามักเรียกว่า SATB
  • 2.วงขับร้องประสานเสียงหญิงล้วน อาจแบ่งนักร้องเป็น 2 แนว คือ โซปราโน-อัลโต เรียกว่า SA หรือแบบ 3 แนว โซปราโนI, โซปราโนII และอัลโต เรียกว่า SSA
  • 3.วงขับร้องประสานเสียงชายล้วน มักแบ่งเป็นเทนเนอร์ 2 แนว บาริโทน และเบส หรือเรียกว่า TTBB
  • 4.วงขับร้องประสานเสียงเด็ก มักเป็นออกเป็น 2 แนว (SA) หรือ 3 แนว (SSA)
        ระดับเสียงของนักร้องในวงขับร้องประสานเสียง
    ระดับเสียงของนักร้องจะแยกชาย และหญิง ฝ่ายละ 3 ประเภท ได้แก่
    • 1.โซปราโน (อังกฤษ: Soprano) เป็นนักร้องผู้หญิง เสียงสูง โดยมีระดับเสียงตั้งแต่ Middle C จนถึง High A หรืออาจสูงกว่า HIgh A
    • 2.เมซโซ โซปราโน (อังกฤษ: Mezzo Soprano) เป็นนักร้องหญิงที่มีเสียงระดับกลาง ถ้าเป็นเพลง 2 แนว (SA) จะต้องคัดแยกไปรวมกับโซปราโน หรืออัลโต ตามความใกล้เคียงของระดับเสียง แต่ถ้าเป็นเพลง 3 แนว (SSA)ระดับเสียงเมซโซ โซปราโน จะแยกกลุ่มออกมาเป็น โซปราโนII
    • 3.อัลโต (อังกฤษ: Alto) หรือคอนทราลโต ((อังกฤษ: Contralto) เป็นนักร้องหญิงที่มีระดับเสียงต่ำ
    • 4.เทนเนอร์ (อังกฤษ: Tenor) เป็นนักร้องชายที่มีเสียงสูง
    • 5.บาริโทน (อังกฤษ: Baritone) เป็นนักร้องชายที่มีระดับเสียงปานกลาง
    • 6.เบส (อังกฤษ: Bass) เป็นนักร้องชายที่มีระดับเสียงต่ำสุด มีลักษณะเสียงหนักแน่น ลุ่มลึก และมีพลัง
จากวิกิพิเดีย  สารานุกรมเสรี
ข้อความนี้ถูกเขียนใน คลังความรู้ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับที่ การขับร้องเพลงประสานเสียง

  1. nuntida พูดว่า:

    โอกาสของการบรรเลงของวงขับร้องประสานเสียง! อยากรู้จัง

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.