วิธีการตีโทนรำมะนา

        ส่วนประกอบต่างๆของโทน รำมะนา
                โทน
๑. หน้าโทน
๒. สายโยงเร่งเสียง
๓. หุ่นโทน
              รำมะนา
๑. หน้ารำมะนา
๒. หมุด
๓. หุ่นรำมะนา
                วิธีการบรรเลง
           วิธีการจับโทน รำมะนานั้นแต่เดิมใช้ผู้บรรเลง ๒ คน บรรเลงร่วมกันโดยตีโทนคนหนึ่งและตีรำมะนาคนหนึ่ง ต่อมานิยมบรรเลงคนเดียวโดยนำโทนและรำมะนาวางไว้บนตัก ใช้มือข้างขวาตีโทน และข้างซ้ายตีรำมะนา สาเหตุที่ใช้คนตีคนเดียวอาจจะเป็นเพราะว่า มีควาวสะดวกคล่องตัวกว่าการบรรเลงร่วมกันสองคน เพราะรูปร่างของโทนและรำมะนานั้นไม่ใหญ่โตเหมือนกลองแขก จึงสามารถบรรเลงคนเดียวได้
เสียงที่เกิดจากการตีโทนมี ๒ พยางค์ คือ จ๋ง และ ทั่ม การตีโทนให้ได้เสียง “จ๋ง” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงขอบโทนอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับยกนิ้วขึ้นจะเกิดเป็นเสียง “ จ๋ง” การตีโทนให้ได้เสียง “ทั่ม “ใช้ฝ่ามือที่นิ้วเรียงชิดติดกันตีเฉียงๆลงไปตรงกลางผืนหนังหน้าโทนเกือบเต็มฝ่ามือแล้วรีบยกมือขึ้นจะเกิดเสียง “ทั่ม”
เสียงที่เกิดจากการตีรำมะนามี ๒ พยางค์ คือ ติง และ โจ๊ะ การตีรำมะนาให้ได้เสียง “ติง” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงขอบรำมะนาอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับยกนิ้วขึ้นจะเกิดเป็นเสียง “ติง” การตีรำมะนาให้ได้เสียง “โจ๊ะ” ใช้บริเวณปลายนิ้วตีหรือดีดลงไปบริเวณผืนหนังตรงกลางผืนหนังหน้ารำมะนาอย่างแรงและเร็ว พร้อมกับกดนิ้วค้างจะเกิดเป็นเสียง “โจ๊ะ”

เสียงที่เกิดจากการตีโทนมี 2 พยางค์ คือ จ๋ง และ ทั่ม
เสียงที่เกิดจากการตีรำมะนามี 2 พยางค์ คือ ติง และ โจ๊ะ

 
ข้อความนี้ถูกเขียนใน คลังความรู้ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.