E-Portforlio

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

……..1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
……………..กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี)
…………1. รายวิชาขับร้องประสานเสียง 2 (ศ31210) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน  2 คาบ/สัปดาห์
…………2. รายวิชาขับร้องประสานเสียง 4 (ศ32209) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  2 คาบ/สัปดาห์
…………3. รายวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรี 2 (ศ31207) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน  4 คาบ/สัปดาห์
…………4. รายวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรี 4 (ศ32207) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  4 คาบ/สัปดาห์
…………5. รายวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรี 6 (ศ33205) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  4 คาบ/สัปดาห์
…………6. รายวิชาการรวมวง 2 (ศ31212) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน  2 คาบ/สัปดาห์
…………7. ายวิชาการรวมวง 4 (ศ32212) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  2 คาบ/สัปดาห์
…………8. รายวิชาการแสดงเดี่ยว 2 (ศ33206) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  4 คาบ/สัปดาห์

……..1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
…….. …1.2.1  การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC)

……..1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
…………..1.3.1  งานหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
…………..1.3.2  งานครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
…………..1.3.3  งานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน โครงการพัฒนาทักษะดนตรี

……..1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
…………..1.4.1  โรงเรียนคุณธรรม

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู
…………………….วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ
…………………….ชำนาญการพิเศษ คือ การอ่านโน้ตสากล ผ่านกิจกรรมขับร้องประสานเสียง การจัดการเรียนรู้
…………………….และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมี
…………………….การพัฒนามากขึ้น

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาขับร้องประสาน
…………………………เสียง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4/4
…………………………โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Leaning)

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

          ในการพัฒนาทางด้านวิชาดนตรีพื้นฐานที่สำคัญที่ส่งผลในด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีคือการพัฒนา
ในด้านทักษะการอ่าน การเขียนโน้ตสากล ในการสอนที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนในบางส่วน ยังขาดทักษะในด้านการอ่านโน้ตสากล จึงส่งผลมา ให้ต้องมีการปรับปรุง และต้องมีการพัฒนาในทักษะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นผลต่อการปฏิบัติเครื่องดนตรีและการขับร้องประสานเสียง                         

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

………..2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2563) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเทอดไทย ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2563 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา เรื่องการขับร้องประสานเสียง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4
………..2.2  ออกแบบหน่วยเรียนรู้รายวิชาขับร้องประสานเสียง 2 เรื่องการอ่านโน้ตสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Leaning) เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) ครอบคลุมวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลาย
………..2.3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อนวัตกรรม การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งรับข้อเสนอแนะไปปรับปรุงให้เกิดความครบถ้วยสมบูรณ์แล้วนำไปทดลองใช้ จากนั้นนำผลการทำลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อศึกษาผลการใช้ ผลกระทบก่อนนำไปใช้จริง
………..2.4 จัดการเรียนรู้ เรื่องการขับร้องประสานเสียง 2 เรื่องการอ่านโน้ตสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4 ของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท
………..2.5 บันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

………..3.1 เชิงปริมาณ
………………….นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4  โรงเรียนบ้านเทอดไทย ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาขับร้องประสานเสียง 2 เรื่องการอ่านโน้ตสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Leaning) โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Leaning) เรื่องการขับร้องประสานเสียง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้น                      

………..3.2 เชิงคุณภาพ
………………….นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4  โรงเรียนบ้านเทอดไทย มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง รายวิชาขับร้องประสานเสียง 2 เรื่องการอ่านโน้ตสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้น ม.4  และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง